วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทคัดย่อ : การพัฒนาโรงเรียนปากช่อง 2 สู่ความสำเร็จตามมารตรฐานการศึกษาท้องถิ่น


บทคัดย่อ : การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ของนักเรียนโรงเรียนปากช่อง 2

ชูชัย นิลสันเทียะ. การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
ของนักเรียนโรงเรียนปากช่อง 2. อัดสำเนา. นครราชสีมา : โรงเรียนปากช่อง 2 ; 2554.
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียน
ปากช่อง 2 ในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะประเมินโครงการภายใต้กรอบการประเมินเชิงระบบของ
CIPPIEST Model ได้แก่ 1) ประเมินบริบทของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่
พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนปากช่อง 2 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาคุณธรรม
จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนปากช่อง 2 3) ประเมินกระบวนการ
ของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนปากช่อง 2
4) ประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียน
โรงเรียนปากช่อง 2 5) ประเมินผลกระทบของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม
ที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนปากช่อง 2 6) ประเมินประสิทธิผลของโครงการพัฒนาคุณธรรม
จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนปากช่อง 2 7) ประเมินความยั่งยืนของ
โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนปากช่อง 2 และ
8) ประเมินการถ่ายโยงความรู้ของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของ
นักเรียนโรงเรียนปากช่อง 2 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนปากช่อง 2
ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 312 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ 1) ผู้บริหาร และครูผู้สอนกลุ่มสาระ
สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนปากช่อง 2 ที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 12 คน
2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนปากช่อง 2 จำนวน 13 คน 3) นักเรียนชั้นมัธยม -
ศึกษาปีที่ 4- 6 โรงเรียนปากช่อง 2 ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 176 คน และ 4) ผู้ปกครองของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4- 6 โรงเรียนปากช่อง 2 ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 176 คน ดำเนินการ
ประเมินในระหว่างวันที่ 1-31 ธันวาคม 2554 โดยการสอบถามความคิดเห็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูล และ
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กรอบการประเมินเชิงระบบตามรูปแบบ CIPPIEST Model (Stufflebeam,
1983 ; มาเรียม นิลพันธุ์ 2553 : 31-32) ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
จากการประเมิน พบว่า ครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของ
นักเรียนโรงเรียนปากช่อง 2 มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้
1. ด้านบริบท มีความสอดคล้องชัดเจนของวัตถุประสงค์ของโครงการกับความเหมาะสมใน
การนำไปปฏิบัติได้จริงสอดคล้องกับสภาพปัญหาของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้า มีการจัดสรรทรัพยากรที่เอื้อต่อการดำเนินงานของโครงการในด้าน
บุคลากร ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองและนักเรียน งบประมาณ วัสดุ-อุปกรณ์ และสถานที่ อยู่ในระดับ
มากที่สุด
3. ด้านกระบวนการ มีการแก้ปัญหาจากการบริหารงานโครงการ ตลอดจนการวางแผน
การปฏิบัติงานที่ชัดเจนรัดกุม มีระบบการดูแล ติดตามและการนิเทศการดำเนินงานหรือการบริหาร
โครงการอยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต มีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมจากการดำเนินโครงการ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจใน
เรื่องคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด
5. ด้านผลกระทบ มีการยอมรับจากผู้ปกครองและชุมชนอยู่ในระดับมากที่สุด
6. ด้านประสิทธิผล มีประเมินผลที่เกิดกับนักเรียนภายหลังสิ้นสุดโครงการ นักเรียนมีความ
มั่นใจในองค์ความรู้ที่มีอยู่ในระดับมาก
7. ด้านความยั่งยืน นักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากโครงการไปใช้ใน
การดำเนินชีวิต และการมีทักษะในการแก้ไขปัญหาในชีวิตด้วยวิธีการที่เหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
8. ด้านการถ่ายโยงความรู้ นักเรียนมีพฤติกรรมที่เป็นแบบอย่างด้านคุณธรรมจริยธรรม
ให้ผู้อื่นปฏิบัติตามอยู่ในระดับมาก